เมนู

ความเสื่อมเพราะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิรชฺชติ ความว่า
ย่อมคลายความยินดี ในเวทนาเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ในพระสูตร
แม้นี้ ตรัสเวทนาอันเที่ยวไปในการพิจารณา ตรัสการถูกต้องด้วยญาณ
ในคาถาทั้งหลาย.
จบ อรรถกถาสุขสูตรที่ 2

3. ปหานสูตร



ว่าด้วยพึงละราคานุสัยเป็นต้นในเวทนา 3



[363] ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 เหล่านี้ เวทนา 3 เป็น
ไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงละราคานุสัยในสุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
พึงละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา เพราะเหตุที่ภิกษุละราคานุสัยใน
สุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุข-
เวทนา ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัด
ตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
เพราะละมานะได้โดยชอบ.
[364] ราคานุสัยนั้น ย่อมแก่ภิกษุผู้เสวยสุข
เวทนาไม่รู้สึกตัวอยู่ มีปกติไม่เห็นธรรมเป็น
เครื่องสลัดออก ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวย
ทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว มีปกติไม่เห็นธรรมเป็น
เครื่องสลัดออก บุคคลเพลิดเพลินอทุกขมสุข-

เวทนาซึ่งมีอยู่ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญา
ประดุจปฐพีทรงแสดงแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไป
จากทุกข์เลย เพราะเหตุที่ภิกษุผู้มีความเพียร
ละทิ้งเสียได้ด้วยสัมปชัญญะ เธอชื่อว่าเป็น
บัณฑิตย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งปวง ครั้นกำหนด
รู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรมถึงที่สุดเวท เมื่อตายไป ย่อมไม่
เข้าถึงความนับว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็น
ผู้หลง ดังนี้.

จบ ปหานสูตรที่ 3

อรรถกถาปหานสูตรที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในปหานสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อจฺเฉชฺช ตยฺหํ ความว่า ตัดตัณหาแม้ทั้งปวงได้เด็ดขาด
แล้ว. บทว่า นิวตฺตยิ สญฺโญชนํ ความว่า เพิกถอนสังโยชน์ทั้ง 10
อย่างได้แล้ว คือได้ทำให้หมดมูล. บทว่า สมฺมา คือโดยเหตุ คือโดยการณ์.
บทว่า มานาภิสมยา ความว่า เพราะเห็นและละมานะเสียได้ ด้วยว่า
อรหัตตมรรค ย่อมเห็นซึ่งมานะด้วยสามารถแห่งกิจ. นี้จัดเป็นการละมานะ
นั้นด้วยทัสสนะ. ส่วนมานะนั้นอันอรหัตมรรคนั้นเห็นแล้ว ย่อมละได้
ทันทีเหมือนชีวิตของสัตว์อันบุคคลเห็นละได้ด้วยสามารถทิฏฐิฉะนั้น.นี้ จัด
เป็นการละมานะนั้นด้วยปหานะ. บทว่า อนฺตมาสิ ทุกฺขสฺส ท่านอธิบาย